วันจันทร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2555

การเกิดสบู่

                                                                     การเกิดสบู่
สบู่เป็นสารประกอบไอออนิก สามารถละลายน้ำได้และแตกตัวเป็นไอออนได้ดังนี้

CnH2n+1COONa             Na+(aq)   +   CnH2n+1COO(aq)


โมเลกุลของสบู่ประกอบด้วยโซ่ของไฮโดรคาร์บอนและปลายไอออนิกส่วนของไฮโดรคาร์บอนจะไม่ละลายในน้ำ (hydrophobic) แต่ละลายได้ในตัวทำละลายที่ไม่มีขั้ว สำหรับปลายไอออนิกจะละลายน้ำได้ (hydrophilic) เนื่องจากมีส่วนของโซ่ไฮโดรคาร์บอนอยู่ ทำให้โมเลกุลของสบู่ไม่ละลายอย่างแท้จริง อย่างไรก็ตามสบู่จะเป็นคอลลอยด์ในน้ำ เพราะว่าสบู่สามารถเกิดไมเซลล์ (micell) โดยด้านโซ่ไฮโดรคาร์บอนจะจับกลุ่มกัน แล้วหันปลายไอออนิกเข้าหาน้ำ ดังนั้น จึงมีสมบัติในการซักล้างได้อย่างดี นั่นคือการกำจัดคราบสกปรกต่างๆ สบู่จะหันด้านโซ่ไฮโดรคาร์บอนเข้าหาคราบสกปรก และปลายด้านไอออนิกจะจับกับน้ำ จึงทำให้สบู่ซักคราบสกปรกได้
โครงสร้างของสบู่
สบู่จะใช้ได้ดีกับน้ำอ่อน แต่ถ้าเป็นน้ำกระด้างจะไม่เกิดฟอง และประสิทธิภาพของสบู่จะลดลง เนื่องจากในน้ำกระด้างมี Mg2+และ Ca2+เมื่อไอออนเหล่านี้รวมกับไอออนลบของสบู่ จะเกิดเกลือแมกนีเซียมหรือเกลือแคลเซียมของกรดไขมันที่ไม่ละลายน้ำ ลอยเป็นฝ้าอยู่บนผิวน้ำเรียกว่า ไคลสบู่  เช่น สบู่โซเดียมสเตียเรต เมื่ออยู่ในน้ำกระด้างจะตะกอนหรือไคลสบู่ดังนี้


2 CH3(CH2)16COONa(aq)
+
Ca2+(aq)
(CH3(CH2)16COO)2Ca(s)
+
2 Na+(aq)
โซเดียมสเตียเรต



แคลเซียมสเตียเรต



ไคลสบู่ที่เกิดขึ้นอาจเกาะเสื้อผ้า ทำให้ผ้าหมอง จึงไม่นิยมใช้สบู่ในการซักเสื้อผ้า จึงมีการผลิตผงซักฟอกจะเพื่อใช้ทำความสะอาดแทนสบู่


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น